วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เมืองไทยประกันภัยเข้าร่วมโครงสินเชื่อรถตู้เฟส 2

เมืองไทยประกันภัยเข้าร่วมโครงสินเชื่อรถตู้เฟส 2 บมจ.เมืองไทยประกันภัยเข้าร่วมโครงการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เพื่อสร้างอาชีพใหม่ โครงการ 2 ขยายไปยังกลุ่มผู้ประกอบการรถตู้กรุงเทพฯ ที่สังกัดขสมก.  เพื่อเป็นช่องทางเปิดไปสู่การขายผ่านแบงก์ชัวรันส์ของกลุ่มตะกาฟุล

นางกฤตยา  ล่ำซำ  กรรมการผู้จัดการ  บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด(มหาชน)  เปิดเผยว่าบริษัทฯได้เข้าร่วมลงนามเซ็นสัญญาในโครงการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เพื่อสร้างอาชีพใหม่ โครงการ 2ร่วมกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 
โครงการสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เพื่อสร้างอาชีพใหม่โครงการ 2 นี้ เป็นโครงการต่อเนื่องที่ขยายการให้บริการมายังกลุ่มผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสารธารณะประจำเส้นทางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ได้รับใบอนุญาตเส้นทางจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)หรือบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.)
บริษัทฯเป็นผู้รับผิดชอบด้านรับประกันภัยรถตู้โดยสารสาธารณะที่เข้าร่วมโครงการ  โดยให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก  ความรับผิดต่อตัวรถยนต์ที่ประกัน ความรับผิดต่อรถยนต์กรณีสูญหายหรือไฟไหม้  ความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลกรณีเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร   รวมทั้งการประกันตัวผู้ขับขี่
บริษัทฯประมาณการณ์ว่าจะมีรถตู้โดยสารกลุ่มดังกล่าวเข้าร่วมโครงการประมาณ 1,500 คันและคาดการณ์ว่าบริษัทฯจะมีเบี้ยประกันภัยรับจากโครงการนี้ประมาณ 50 – 60 ล้านบาท
ปัจจุบันบริษัทฯได้ดำเนินธุรกิจร่วมกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้แก่ การรับประกันทรัพย์สินเช่น การประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย และการรับประกันภัยโดยบริษัทฯมีแผนจะขยายช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ในธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดให้พนักงาน ของธนาคารมีใบอนุญาตประกันวินาศภัย ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปี 2552 บริษัทจะสามารถเริ่มขายในช่องทางดังกล่าว
 
นางกฤตยา  ล่ำซำ  กล่าวในตอนท้ายว่า " ความร่วมมือกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยในครั้งนี้จะเป็นหนทงนำไปสู่การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านธนาคารสู่กลุ่มลูกค้าตะกาฟุลได้เพิ่มมากขึ้น  และเพื่อให้ลูกค้าของเราทุกกลุ่มทุกประเภทสามารถยิ้มได้  เมื่อภัยมา"

ที่มา เว็บไซต์บริษัทเมืองไทยประกันภัย

เมืองไทยประกันภัยเปิดตัวแบบประกันภัยพร้อมโฆษณาชุดใหม่ สำหรับธุรกิจ SME

เมืองไทยประกันภัยเปิดตัวแบบประกันภัยพร้อมโฆษณาชุดใหม่ สำหรับธุรกิจ SME

"เมืองไทยประกันภัย" ลุยธุรกิจSME ด้วยแบบประกันภัย"เมืองไทย SME ยิ้มได้" เบี้ยประกันภัยต่ำแต่ให้ความคุ้มครองสูงถึง 6 ประเภท ทุนประกันภัยเริ่มต้น 500,000 บาท พร้อมเปิดตัวโฆษณาใหม่ 2 ชุด ดีเดย์พร้อมกันในวันที่ 25 มิถุนายนนี้

 

นางกฤตยา ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด(มหาชน)เปิดเผยว่า บริษัทฯได้ออกแบบประกันภัยใหม ่ชื่อ แบบประกันภัย"เมืองไทย SME ยิ้มได้" โดยคุ้มครอง 6 ประเภท ได้แก่ 1. อาคาร ทรัพย์สินในอาคาร เครื่องจักร และสต๊อกสินค้า ที่ได้รับความเสียหายจาก ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ระเบิด น้ำท่วม ภัยธรรมชาติการจลาจล นัดหยุดงาน การโจรกรรม และความเสียหายของกระจกที่เกิดจากอุบัติเหตุ รวมทั้งคุ้มครองเงินกรณี

ที่ถูกลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ 2. การสูญเสียทางการค้า และค่าเช่าอาคารกรณีได้รับความเสียหายจากเหตุข้างต้น 3. ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก จากการเข้ามาในสถานประกอบธุรกิจของผู้เอาประกันภัย 4. ความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการใช้สินค้าไม่ปลอดภัย ชดเชยความเสียหายให้กับผู้บริโภค ที่ได้รับความเสียหายเช่น บาดเจ็บ เจ็บป่วย เสียชีวิตและทรัพย์สิน จากการบริโภคสินค้าของผู้เอาประกันภัย 5. ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับผู้เอาประกันภัย กรณีเสียชีวิตหรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุทั่วโลก รวมถึงชดเชยรายได้รายวันขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 6. ค่าปลงศพ กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต จากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย

 

เกณฑ์การรับประกันภัย เริ่มต้นทุนประกันภัย 500,000 บาท สูงสุดไม่เกิน30 ล้านบาท และรับประกันภัยธุรกิจ17 ประเภทเช่น โรงงานโลหะภัณฑ์ โรงน้ำแข็ง ร้านซ่อมเครื่องไฟฟ้าร้านตัดเสื้อผ้า ร้านกาแฟ ร้านซักรีด ร้านถ่ายรูปโกดังเก็บสินค้า แต่ทั้งนี้บริษัทฯ ไม่รับประกันภัยธุรกิจที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า และสินค้าที่ไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการใช้สินค้าไม่ปลอดภัย เช่น ยา สมุนไพร สินค้ามือสอง อาหารเสริมเครื่องสำอางค์ อุปกรณ์การแพทย์และเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น ทั้งนี้ระยะเวลาคุ้มครองมีให้เลือก 3 แบบ คือแบบ 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี ส่วนอัตราเบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับกลุ่มประเภทธุรกิจ จำนวนเงินเอาประกันภัยและระยะเวลาเอาประกันภัย

 

นางกฤตยา กล่าวต่อว่า ปัจจัยที่บริษัทฯ เลือกออกแบบประกันภัยสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเนื่องจากบริษัทฯ พิจารณาว่าผู้ประกอบการกลุ่มนี้ยังมีศักยภาพและมีโอกาสที่จะเติบโตอีกมาก อีกทั้งเป็นกลุ่มต้องการ เครื่องมือช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ประกอบกับในปัจจุบันกฏหมายใหม่มีผลบังคับใช้โดยเคร่งครัดขึ้น จึงทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการผู้ช่วยดูแลธุรกิจ บริษัทฯ จึงออกแบบประกันภัย

"เมืองไทย SME ยิ้มได้" ซึ่งสามารถตอบโจทย์ของผู้ประกอบการได้ทั้งในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายที่เป็นภาระและการป้องกันความเสี่ยง ประกอบกับอัตราเบี้ยประกันภัยถูกกว่าการซื้อประกันภัยแยกประเภทความคุ้มครองแบบประกันภัย "เมืองไทย SME ยิ้มได้" จะเริ่มออกขายในวันที่ 25 มิถุนายนนี้ โดยขายผ่านตัวแทน6,000 คนทั่วประเทศ และผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านธนาคาร (K-Bancassurance)

 

โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าภายใน 6 เดือนนี้ จะมีเบี้ยประกันภัยจากแบบประกันนี้ประมาณ 70 -100 ล้านบาท นางกฤตยา กล่าวว่าเพื่อเป็นการสนับสนุนการขายแบบประกัน เมืองไทย SME ยิ้มได้ บริษัทฯ จึงได้ผลิตภาพยนตร์โฆษณาใหม่ 2 ชุดได้แก่ ชุด ไฟไหม้ และชุด โจรปล้น ความยาวชุดละ 15 วินาที แนวคิดของภาพยนตรโฆษณาทั้ง 2 ชุด คือผู้ประกอบการธุรกิจSMEมักจะกังวลเกี่ยวกับภัยต่าง ๆ ที่อาจจะต้องประสบ และคนส่วนใหญ่จะคิดถึง

ประกันอัคคีภัยเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นภัยที่เสียหายชัดเจน แต่อาจไม่ครอบคลุมถึงภัยอีกหลายประเภทซึ่งถ้าเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้ธุรกิจมีปัญหาและเกิดความเสียหาย ดังนั้นแบบประกันภัยเมืองไทย SME ยิ้มได้จึงตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มSME ได้ตรงเป้าหมายโดยคุ้มครองหลายภัยในกรมธรรม์ฉบับเดียว เพื่อให้ผู้ประกอบการเกิดความมั่นใจว่าไม่ว่าจะเผชิญภัยใดข้างต้น ก็สามารถยิ้มได้โดยบริษัท ฟีโนมีนาเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป โดยออกอากาศในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ใช้งบประมาณกว่า 35 ล้านบาท

ที่มา เว็บไซต์บริษัทเมืองไทยประกันภัย

เมืองไทยประกันภัยยิ้มรับผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปี 2552 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 180 ล้านบาท

   บมจ.เมืองไทยประกันภัยเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ของปี 2552 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 348.06 % พร้อมเผยแผนครึ่งปีหลังรุกกลุ่มลูกค้ารายย่อย หลังจากได้เปิดตัวแบบประกันเมืองไทย SME ยิ้มได้

เมืองไทยประกันภัยยิ้มรับผลการดำเนินงาน มีกำไร          นางกฤตยา ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด(มหาชน) เปิดเผย ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ สำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 หลังการสอบทาน ว่า บริษัทฯมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 2,210.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.95 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 128.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 180.19 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 348.06 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีการจัดทำงบเสมือนรวมบริษัทฯ
 
          ทั้งนี้เงินสำรองเบี้ยประกันภัยรับที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ปรับลดลง 136.20 ล้านบาท เนื่องจากการขยายตัวของเบี้ยประกันภัยรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนไม่มาก มีผลให้เบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้มียอดที่เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 144.42 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.14 

          นอกจากนี้บริษัทฯมีกำไรจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 9.78 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น 138.56 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่บริษัทฯขาดทุนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 128.78 ล้านบาท 

          ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล ปรับลดลง 41.75 ล้านบาทจากระยะเวลาเดียวกันของปี 2551 เป็นผลจากในปี 2551 มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพ.ร.ฎ.ฉบับที่ 475/2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2551 โดยลดอัตราภาษีจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีผลกระทบต่อบริษัทฯเนื่องจากการใช้นโยบายเรื่องภาษีเงินได้รอตัดบัญชี จึงต้องมีการบันทึกการด้อยค่าของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่บันทึกไว้เดิมในอัตราภาษีร้อยละ 30 จำนวนประมาณ 79 ล้านบาท และมีผลให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับงวด 6 เดือนปี 2551 เพิ่มขึ้นจากรายการดังกล่าว

          นางกฤตยา กล่าวว่า ทิศทางการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 บริษัทฯ มุ่งเน้นกลยุทธ์ในการที่จะเพิ่มจำนวนลูกค้ารายย่อย โดยมุ่งเน้นการขายในกลุ่มลูกค้ารายใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมเพื่อเพิ่มอัตราการต่ออายุกรมธรรม์ พร้อมทั้งนี้บริษัทฯได้เพิ่มช่องทางการบริการ โดย

          ภายในปีนี้บริษัทฯจะเพิ่มศูนย์บริการลูกค้าอีก 6 แห่ง เพื่อรองรับการให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อยในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ

นอกจากนี้บริษัทฯได้สรรหาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้ารายย่อยทั่วไป เช่น กรมธรรม์เมืองไทย SME ยิ้มได้ และการออกผลิตภัฑณ์ใหม่สำหรับช่องทางการขายผ่าน Bancassurance และโครงการเมืองไทยตะกาฟุล รวมทั้งบริษัทฯมุ่งเน้นการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้นโดยการพัฒนาโครงการต่างๆ เช่นการพัฒนาระบบปฏิบัติการออนไลน์ เพื่อใช้สนับสนุนการให้บริการของทุกช่องทางการจำหน่ายที่ดีขึ้น อีกทั้งสามารถเพิ่มยอดขาย โดยเน้นถึงความสะดวก รวดเร็วในการบริการ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ดียิ่งขึ้น 

          นางกฤตยา กล่าวในตอนท้ายว่า " ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ บริษัทฯได้วางแผนงานและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และให้พนักงานทำงานได้อย่างมีความสุข เพื่อให้ทุกคนยิ้มได้ เมื่อภัยมา "

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เมืองไทยประกันภัยอัด 7 โปรดักต์ บุกตลาดครึ่งหลังกวาดเบี้ย 100 ล.

เมืองไทยประกันภัย

" เมืองไทยประกันภัย" เตรียมอัดโปรดักต์อีก 6-7 รายการ เสริมทัพรุกหนักแต่ละช่องทาง เล็งประเดิมครึ่งปีหลัง ออกประกันรถยนต์ขายผ่านเคแบงก์ ช่วยกวาดเบี้ยมอเตอร์ ดันพี/เอเจาะตลาดลูกค้าเงินฝาก ล่าสุดเปิดตัวกรมธรรม์ "เมืองไทย SME ยิ้มได้" คุ้มครอง 6 ด้าน มั่นใจกวาดเบี้ย 100 ล้านบาท

นายวาสิต ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.เมืองไทยประกันภัย เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทมีแผนออกแบบประกันใหม่ๆ มาทำตลาดอีก 6-7 รายการ เพื่อเป็นการเติมสายผลิตภัณฑ์ ในแต่ละช่องทางให้ครบวงจรมากขึ้น เช่น ประกันภัยของสะสมส่วนตัว รวมถึงปรับเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เช่น ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล, ประกันสุขภาพ และประกันกอล์ฟ

นอกจากนี้ในช่วงต้นเดือน ก.ค.นี้ บริษัทมีแผนประเดิมตลาดครึ่งปีหลัง ด้วยการเปิดตัวแบบประกันภัยรถยนต์ ทั้งประกัน พ.ร.บ., ประกันชั้น 3 และชั้น 5 โดยการขายผ่านสาขาของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่ลูกค้าสามารถโทรศัพท์เข้ามาเปิดใช้บริการและเริ่มความ คุ้มครองได้ตามต้องการ คาดว่าจะสร้างเบี้ยจนถึงสิ้นปีนี้ให้บริษัทได้ประมาณ 100 ล้านบาท

นายวาสิตกล่าวอีกว่า บริษัทยังได้ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยในการทำตลาดแบบประกันอุบัติเหตุส่วน บุคคล (พี/เอ) ผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้งให้แก่ฐานลูกค้าเงินฝากของธนาคาร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังใหม่และมีศักยภาพเติบโตสูง เห็นได้จากยอดเบี้ย พี/เอของบริษัทในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ เติบโตถึง 30% รวมถึงยังมีแนวโน้มเติบโตที่ดีต่อเนื่องในครึ่งปีหลังด้วยเช่นกัน

ล่าสุด เมืองไทยประกันภัยได้เปิดตัวกรมธรรม์ใหม่ "เมืองไทย SME ยิ้มได้" เพื่อเจาะตลาดลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งผ่านช่องทางธนาคารกสิกรไทยและตัวแทนกว่า 6,000 รายทั่วประเทศ โดยให้ความคุ้มครองมากถึง 6 ประเภท ได้แก่อาคาร ทรัพย์สินในอาคาร เครื่องจักร และสต๊อกสินค้า, ความสูญเสียทางการค้า, ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก, ความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัย, คุ้มครองกรณีอุบัติเหตุสำหรับผู้เอาประกันภัย และค่าปลงศพสำหรับผู้เอาประกันภัย

สำหรับเกณฑ์การรับประกันภัย เริ่มต้นทุนประกัน 5 แสนบาท สูงสุดไม่เกิน 30 ล้านบาท รับประกันภัยธุรกิจ 17 ประเภท เช่น โรงงานโลหะภัณฑ์, โรงน้ำแข็ง, ร้านซ่อมเครื่องไฟฟ้า, ร้านตัดเสื้อ, ร้านกาแฟ, ร้านซักรีด, ร้านถ่ายรูป, โกดังเก็บสินค้า เป็นต้น

"แม้ว่าเบี้ยกรมธรรม์นี้จะแพงกว่าประกันอัคคีภัย ปกติประมาณ 25-30% แต่จะได้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมและรอบด้านกว่ากันมาก โดยเฉพาะการคุ้มครองความรับผิดจากการใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัย เพราะปกติการรับประกันส่วนนี้จะมีเกณฑ์พิจารณาเข้มงวดมาก เบี้ยค่อนข้างแพง และมักทำตลาดลูกค้ารายใหญ่เป็นหลัก ดังนั้นการพ่วงความคุ้มครองส่วนนี้เข้าไปจึงกลายเป็นจุดเด่นที่สำคัญ ของกรมธรรม์นี้ไปด้วย ซึ่งตั้งเป้าเบี้ยจากแบบประกันนี้ไว้ประมาณ 100 ล้านบาทจากการทำตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง" นายวาสิตกล่าว

http://www.matichon.co.th/prachachat

บริษัทประกันอ่วมจ่ายค่าเคลมผู้เอาประกันติดไข้หวัด 40 ล้าน

       นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด และนายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงกรณีไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า จากข้อมูล ณ 12 มิถุนายน ถึงปัจจุบัน มีผู้ถือกรมธรรม์ได้รับการติดเชื้อทั้งสิ้น 2,234 ราย จากจำนวนบริษัทประกันชีวิต 17 บริษัท ซึ่งมีทั้งผู้ป่วยไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยในจำนวนนี้มี 11 บริษัท ที่มีผู้ถือกรมธรรม์ได้เคลมและมีผู้เอาประกันรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล 2,231 ราย วงเงินสินไหม 35.7 ล้านบาท จ่ายค่าชดเชยรายได้จากการนอนโรงพยาบาล 210 ราย เป็นเงินกว่า 1 ล้านบาท และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย เป็นเงินสินไหม 2.7 ล้านบาท ส่วนการให้ความคุ้มครองเพิ่มเบื้องต้นกำหนดไว้ 2-3 เดือนเท่านั้น เพราะหลักการในกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันได้ซื้อไป และมีสัญญาแนบท้ายสุขภาพ ก็ได้รับความคุ้มครองแล้ว

       ด้านนางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ได้ผลักดันให้บริษัทประกันชีวิต มีการแนบท้ายความคุ้มครองของกรมธรรม์แต่ไม่มีการเพิ่มเบี้ยประกัน เพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเงื่อนไขการคุ้มครองกำหนดเป็นช่วงเวลา เช่น เริ่มเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และมิถุนายน-กันยายน เป็นต้น รวมทั้งค่าชดเชยรายวันที่ให้จ่ายเพิ่ม 2 เท่าจากอัตราปกติแต่ไม่เกิน 1 หมื่นบาทต่อราย รวมถึงการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเป็น 2 เท่าด้วย ยกเว้นค่าห้องที่ คปภ.ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ส่วนกรณีเสียชีวิตบางบริษัทจ่ายเพิ่มให้ผู้เอาประกันอีก 50%ของทุนประกัน โดยกำหนดเพดานไว้ 1 ล้านบาท หรือ 2 ล้านบาท ขณะนี้ มี 3 บริษัทที่ได้ยื่นขอให้ คปภ.อนุมัติความคุ้มครองเพิ่ม

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เมืองไทยประกันชีวิต

เว็บนี้จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับบริษัทประกันภัยรถยนต์ โดยเฉพาะข้อมูลของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต